วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่10

 

1)               กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
กรณีเขาพระวิหารนี้คิดว่าเริ่มมีปัญหามาตั้งแต่ไทยต้องเสียเขาพระวิหารและดินแดนบริเวณที่ตั้งของเขาพระวิหารใน ช่วงที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี พ.. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา และมีปัญความขัดแย้งมาโดยตลอดในเรื่องของพื้นที่ทับซ้อนที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ จนกระทั่ง 2-3ปีที่ผ่านมาความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรง ขึ้นเมื่อกัมพูชาพยายามผลักดันเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งรวมถึงพื้นที่บริเวณข้างๆเขาพระวิหารที่ด้วยมีปัญหาคือพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ พิพาทกันอยู่ ต่อมาในช่วงที่ผ่านมาเกิดเหตุคนไทยถูกจับกุมในพื้นที่ พิพาทนี้ทำให้มีปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน
2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เป็นพื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตุแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึงเป็นเหตุให้มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีคนไทยถูกจับกุมตัว
3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
ผลของMOU 43 ทำให้กรณีพิพาทนี้ยุ่งเข้าไปอีกทำให้หาข้อยุติไม่ได้ในปัจจุบันหากนำมาในจะทำให้พื้นที่พิพาทหรือพื้นที่ทับซ้อนตกเป็นของกัมพูชาเพราะ  MOU 43มีการจัดทำแผนที่ มาตราส่วน 1:200,000ซึ่งทำให้ดินแดนพิพาทเป็นของกัมพูชา
4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
ในกรณีนี้ไม่แน่นอนอยู่ว่าไทยลุกล้ำดินแดนของกัมพูชาอย่างไรเพราะเป็นพื้นที่พิพาทกันอยู่ดังนั้นรัฐบาลจะต้องช่วยเหลือคนเหล่านี้โดยเร็วที่สุดโดยใช้ความเด็ดขาดไม่ยินยอมและอ่อนแอ อย่างนี้ทำให้กัมพูชาได้ใจและหาเรื่องอยู่ตลอดจึงวอนให้นายกและรัฐบาลชุดนี้จัดการปัญหาให้เสร็จไปคนไทยจะได้ไม่เป็นเหยื่อของการพิพาทของดินแดนอีกต่อไป

กิจกรรมที่9


 

จากการศึกษาโทรทัศน์ครู  เรื่อง 15ปีไม่มีเบื่อ สำคัญที่เตรียมการสอน จึงสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
                จากการที่ได้ศึกษาจาการดูโทรทัศน์เรื่อง 15ปีไม่มีเบื่อ สำคัญที่เตรียมการสอน แล้วทำให้มีความตระหนักถึงการเป็นครูที่กระตือรือร้นมากขึ้นในด้านการเตรียมการสอนที่ดีการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆตลอดเวลาเพื่อที่ได้นำไปใช้ในการสอนที่ไม่น่าเบื่อ  โดยที่การฝึกฝน  การหาเทคนิคการสอนเช่น การอ่านหนังสือเทคนิคการสอนของต่างประเทศ  การเข้าฝึกอบรมการทำกิจกรรมซึ่งจะสามารถมีได้ตลอดเวลาเพื่อจะได้พัฒนานักเรียนให้ได้รับความรู้อย่างเต็มที่ 
หากต้องไปฝึกสอนที่สถานศึกษาดังกล่าวจะต้องเตรียมตัวในการสอนอย่างมากจัดเรียงลำดับการสอนให้เป็นระบบเพื่อจะได้พัฒนานักเรียนได้อย่างเต็มที่และนักเรียนจะไม่สับสนด้วยซึ่งในการเขียนแผนการสอนก็มีความจำเป็นที่จะต้องสอดคล้องกับมาตราฐานของหลักสูตร
และสอดคล้องกับตัวชี้วัดด้วยซึ่งจะทำให้การสอนเป็นไปอย่างง่ายไม่ตะกุกตะกักและนักเรียนก็สามารถเชื่อมโยงความรู้แล้ววิเคราะห์ความรู้ได้จนสรุปความรู้ได้
                คุณสมบัติของครูจะต้องมีลักษณะของความรับผิดชอบคิดและหาวิธีการสอนใหม่ที่จะมาสอนนักเรียน เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน  ซึ่งครูก็ต้องมีสมบัติในการวิเคราะห์ตัวของนักเรียนที่มีความแตกต่างกันในด้านความสามารถ  และครูจะต้องรู้จักการเตรียมตัวการสอนและจัดเรียงเนื้อหาให้เป็นลำดับและตรงกับมาตรฐานหลักสูตรและตัวชี้วัดซึ่งจะต้องมีการพัฒนาตามคุณลักษณะ และครูจะต้องรู้จักการหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ กล้าที่จะทดลองและพัฒนาการสอนอยู่เสมอ

กิจกรรมที่8

 

วัฒนธรรมองค์กร  หมายถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์กรหนึ่งปฏิบัติเหมือน ๆ  กันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์กรนั้น  เกิดจากการเชื่อมโยง  ผสมผสานกันระหว่างเจตคติของบุคคล  ค่านิยม ความเชื่อ  ปทัสถาน  และการกระทำของบุคคล  ของกลุ่ม  ขององค์กร  นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร  เทคโนโลยี  สภาวะของกลุ่มความสำเร็จขององค์กร  จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์กร
แนวทางความคิดที่ก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรของตนเองจากลักษณะต่อไปนี้
1.  เกิดจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคลากรในองค์กร  บริษัท  ห้างร้าน  สำนักงาน ฯลฯ  เป็นระบบสังคมที่มีระบบที่แน่นอน
2. เป็นมรดกขององค์กร  ถูกถ่ายทอดจากบุคคลรุ่นหนึ่งไปยังบุคคลอีกรุ่นหนึ่ง  บุคคลอยู่ในสังคมใดก็เรียนรู้วัฒนธรรมของสังคมนั้น  เป็นการสร้างความเจริญให้แก่วัฒนธรรมและสังคมมนุษย์ให้อยู่ในระดับสูงขึ้น
3.  เป็นที่รวบรวมของความคิด  ความเชื่อ  เจตคติ  ตลอดจนค่านิยมขององค์กร  เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากรในองค์กร
4.  เป็นสิ่งที่คนในองค์กรเห็นว่ามีคุณค่าสูงสำหรับองค์กร  เป็นสินทรัพย์ขององค์กรที่มองไม่เห็นแต่สัมผัสได้
5.  เป็นสิ่งที่เหมือนกระจกเงาสะท้อนให้เห็นบุคลิกภาพขององค์กร  และบุคลิกภาพของบุคลากรในองค์กรในระดับมหภาค
การพัฒนาองค์การ  เป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีกว่าเดิม เพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ  และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ
วัตถุประสงค์ขององค์การ  มีดังนี้
1.  เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การได้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ
2.  เพื่อสร้างและทำให้เกิดความรู้สึกว่าสมาชิกในองค์การมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน
3.  เพื่อทำให้สมาชิกในองค์การสามารถปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ  เป็นต้น
รูปแบบในการพัฒนาองค์การ
1.  การฝึการรับรู้ หรือการฝึกกลุ่มสัมพันธ์
2.  การประชุมแบบเผชิญหน้า
3.  การแสดงบทบาทเป็นการให้สมาชิกได้อธิบายหน้าที่ของตน
4.  กระบวนการให้การปรึกษา
5.  การปฏิบัติงานในห้องทดสอบ
6.  การประสานงานประโยชน์วิเคราะห์
ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ
                    การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตในแก่องค์การ  การปฏิบัติงานภายในองค์การ
อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน  การลาป่วย  ลากิจ  ลดความขัดแย้งภายในองค์
การ  ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง
กลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร
คำว่ากลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำกันใน 2 ลักษณะคือ
               1.
การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก หรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่า การเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ    การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อย แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง
               2.
การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาว เพราะทุกอย่างชัดเจน ทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัด บางองค์กรมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครงสร้างองค์กร เปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะเจ็บป่วย เพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็นปกติ

  แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
การประยุกต์ ใช้วัฒนธรรมองค์การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในการนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติเนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมากกล่าวคือไม่ต้องมีการสั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ

กิจกรรมที่7

 

การจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพ

ปัญหา อย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยในหลายโรงเรียน คือ การควบคุมดูแลนักเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยและตั้งใจเรียน แม้กระทั่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนที่มีความเชื่อมั่นในวิธีการควบคุม ชั้นเรียน โดยนักเรียนต้องเชื่อฟังและอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับแนวการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เน้นนัก เรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้นั้นๆ ได้คิดลงมือทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ตื่นตัว ตื่นใจ หรือมีใจจดจ่อผูกพันกับสิ่งที่ทำ มิใช่เพียง ทำไปให้เสร็จภารกิจเท่านั้น ดังนั้นการที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น กิจกรรมนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่าง “active” คือ ช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกมีความกระตือรือร้นตื่นตัว มีความจดจ่อ ผูกพันกับสิ่งที่ทำ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และครูที่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จนั้นจึงได้รับการยอมรับ ว่าเป็น “ครูมืออาชีพ”
ดังนั้น “ครูมืออาชีพ” จึง เป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน มีความสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างแท้จริงดังนั้นการบริหารจัดการชั้น เรียนตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่ครูมืออาชีพต้องให้ความสำคัญ และสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการชั้นเรียน คือ การจัดสภาพของห้องเรียนทางด้านกายภาพหรือการตกแต่งห้องเรียนด้วยวัสดุตกแต่ง เพื่อเป็นการจูงใจนักเรียนให้มีความสนใจและตั้งใจเรียน นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดการชั้นเรียนเท่านั้น หากแต่ต้องมีการ
สร้าง สรรค์และเอาใจใส่สภาพบรรยากาศภายในห้องเรียนด้วยเช่นกัน ครูจึงเป็นบุคคลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในการรับหน้าที่เป็นผู้สร้างและส่ง เสริมกระบวนการเรียนการสอน กระตุ้นความใฝ่รู้และใส่ใจในการศึกษาของผู้เรียน สร้างความมีระเบียบวินัยให้กับผู้เรียน
การจัดการชั้นเรียนมีความสำคัญด้วยเหตุผลหลายประการ คือ
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียนนักเรียนที่อยู่ในชั้นเรียนที่ ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนมีเสียงดังและสิ่งรบกวน หรือการจัดที่นั่งไม่เหมาะสมอาจเกิดสาเหตุให้เกิดปัญหาทางวินัยนำไปสู่การ แสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว หรือทำให้นักเรียนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
ดังนั้น จะเห็นว่าการจัดการบริหารชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความ กระตือรือร้นในการเรียนและร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยมีครูเป็นผู้วางแผนและกระบวนการส่งเสริมทั้งทางด้านกายภาพ จิตวิทยา และสังคม โดยมีสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow)ที่ กล่าวว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานอย่างเป็นลำดับขั้น เริ่มตั้งแต่ขั้นความต้องการทางด้านร่างกาย ขั้นความต้องการความมั่นคง ขั้นความต้องการการยอมรับและยกย่องจากสังคมและขั้นความต้องการพัฒนาศักยภาพ ของตนอย่างเต็มที่ ทำให้ต้องการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทำให้ครูต้องเป็นผู้ช่างสังเกตว่านักเรียนมีความต้องการพื้นฐานในระดับใด และพยายามช่วยเหลือตอบสนองความต้องการของนักเรียน ให้ความเป็นอิสระและเสรี รวมทั้งจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และรู้จักตนเอง

วิธีการจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
การจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพนั้นคนที่เป็นครูควรยึดหลักดังต่อไปนี้
1. หลักประชาธิปไตย ครูควรให้ความสำคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน ให้ความเสมอภาค ให้ อิสระ ให้โอกาสแก่ทุกคนในการแสดงความคิดเห็น ขณะเดียวกันครูต้องใจกว้าง ยินดีรับฟังความเห็นของทุกคน และควรฝึกให้นักเรียนปฏิบัติตนตามสิทธิหน้าที่ รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างประชาธิปไตย
2. หลักความยุติธรรม ครู ควรปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคนโดยทั่วถึง นักเรียนจะเคารพศรัทธาครู และยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบของครู ยินดีปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของครู ตลอดจนไม่สร้างปัญหาในชั้นเรียน
3. หลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้
เมตตา หมายถึง ความรักและเอ็นดุ ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข
กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา หมายถึง ความยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ลาภยศ สุข สรรเสริญ
อุเบกขา หมายถึง ความเที่ยงธรรม การวางตัวเป็นกลาง การวางใจเฉย
ถ้าครูทุกคนยึดหลักพรหมวิหาร 4 ใน การปกครองชั้นเรียน นอกจากจะทำให้นักเรียนมีความเคารพรักศรัทธาครู และมีความสุขในการเรียนแล้วยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่นักเรียนด้วย
4. หลักความใกล้ชิด การที่ครูแสดงความเอาใจใส่ ความสนใจ ให้ความใกล้ชิดกับ
นักเรียน เป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา วิธีการแสดงความสนใจนักเรียนทำได้หลายวิธี ซึ่งประกอบด้วย
1.ใครู จะต้องรู้จักนักเรียนในชั้นทุกคน รู้จักชื่อจริง ชื่อเล่น ความสนใจของเด็กแต่ละคนเป็นต้นว่า งานอดิเรก มีพี่น้องกี่คน จุดเด่น จุดด้อย ของนักเรียนแต่ละคน
2. ครู จะต้องแสดงความสนใจในสารทุกข์สุขดิบของเด็กแต่ละคน เช่น หมั่นถามความเป็นไปของพี่น้อง ความคืบหน้าของการสะสมแสตมป์ คือ ไม่เพียงรู้แต่ว่าเด็กเป็นอะไรในข้อ 1 แต่รู้ข่าวคราวเคลื่อนไหวของสิ่งเหล่านั้นด้วย
3. ครู จะมอบเวลาของตนเพื่อเด็ก เวลาที่นอกเหนือจากงานสอน ได้แก่ เวลาเย็นหลังเลิกเรียน ช่วงพักระหว่างการเรียน เพื่อช่วยเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ว่าต้องการขอคำปรึกษา ต้องการขอคำแนะนำในการหารายได้พิเศษ ครูจะต้องพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กได้ตลอดเวล
4. ครูจะต้องใกล้ชิด สัมผัสทั้งร่างกายและจิตใจ คำสั่งสอนและการกระทำของครูจะต้อง
สอด คล้องกัน เป็นต้นว่า ถ้าครูจะอบรมสั่งสอนเด็กเรื่องความซื่อสัตย์ ครูจะต้องปฏิบัติตนเป็นคนซื่อสัตย์ด้วยเช่นกัน กายสัมผัสก็เป็นสิ่งจำเป็น การจับต้องตัวบ้าง จะเป็นสื่อนำให้เด็กรู้สึกถึงความใกล้ชิดสนิทสนม
นำแนวคิดมาใช้ในการจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพ เราสามารถที่จะนำหลักการดังกล่าวมาใช้เพื่อที่จะเป็นแนวทางหรือแนวคิดในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพของเราได้คือเราสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี หมายถึง ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม ครูให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียน ให้นักเรียนมีอิสระ และมีความสบายใจในการทำกิจกรรม บรรยากาศภายในห้องเรียนก็จะไม่ตึงเครียด เป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์ น่าเรียน น่าสอน ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบและเราก็สามารถที่นำการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

กิจกรรมที่6

 

มาตรฐานวิชาชีพ
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า มาตรฐานวิชาชีพนั้น หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูง
วิชาชีพที่มีมาตรฐาน จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา ได้รับการศึกษาอบรมมายาวนานเพียงพอ มีอิสระในการใช้ชีวิตตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพที่เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์และจรรโลงวิชาชีพด้วย
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
การนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครู
มาตรฐานวิชาชีพครู ก็ไม่แตกต่างจากมาตรฐานวิชาชีพทั่วไป คนที่เป็นครูมีหน้าที่ฝึกฝนฝึกทักษะให้แก่นักเรียน ไปตามเกณฑ์ที่เป็นเงื่อนไขของคุรุสภา และมามารถปรับเปลี่ยนปรับยุกต์รูปแบบการเรียนการสอนได้ตามกรอบที่คุรุสภากำหนด  เช่น
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->ครูเป็นผู้มีจรรยาบรรณ อบรมสั่งสอนศิษย์ด้วยความรัก
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->ครูมีคุณธรรมจริยธรรมในการตัดสินผลคะแนนต่างๆ
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->เป็นแบบอย่างแก่นักเรียน
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->สั่งสอนนักเรียนตามกรอบของเนื้อหาที่มีการกำหนดไว้จะได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน