วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำตัว

ชื่อนางสาวกูไซน๊ะ  สะมะ
ชื่อเล่น ยา

จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบระเอ็ง
คติ ทุกสิ่งจะมีค่า ก็ต่อเมื่อสูญเสียมันไป
กำลังศึกษาอยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมาราช


กิจกรรมที่3

หลุยส์ ปาสเตอร์
ประวัติ
หลุยส์ ปาสเตอร์ เกิดในปี ค.ศ.1822 ที่เมืองเล็กๆในประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาต้องการให้หลุยส์ เป็นครูจึงส่งเข้าไปเรียนที่กรุงปารีส จนสำเร็จการศึกษาและได้เป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัยเมื่ออายุได้32ปี จุลชีพเป็นสิ่งที่ปาสเตอร์สนใจมากทุกคนรู้ว่าเนื้อจะเน่าเปื่อยหากทิ้ง เนื้อไว้กลางแจ้งและทุกคนสามารถมองเห็นตัวจุลชีพในเนื้อได้ด้วย กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายมากแต่ไม่มีใครรู้ว่าจุลชีพมาจากที่ใด นักวิทยาศาสตร์หัวโบราณคิดว่าเนื้อเน่าทำให้เกิดพวกมัน แต่ปาสเตอร์ ไม่ค่อยแน่ใจนัก เขากลับไปยังวิทยาลัยที่เคยเรียนในกรุงปารีสซึ่งเขา ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการทางวิชาวิทยาศาสตร์ เขาใช้เวลา ทั้งหมดของเขาทำการค้นคว้าเรื่องจุลชีพ ในที่สุดหลุยส์ก็ค้นพบว่า จุลชีพนั้นเกิดจากฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศมิใช่มาจากอาหารที่ บูดเน่า เขาพิสูจน์โดยการนำเอาขวดซุปเนื้อขึ้นไปบนภูเขาแอลป์ซึ่ง มีอากาศบริสุทธิ์และไม่มีฝุ่นละอองเขาเปิดขวดเหล่านั้นและปล่อยทิ้งไว้ เขาพูดถูกน้ำซุปไม่เสีย บนหิ้งต่างๆของพิพิธภัณฑ์ปาสเตอร์ในกรุงปารีส มีขวดปิดไว้ซึ่งจัดทำขึ้นโดยปาสเตอร์น้ำซุปเนื้อในนั้นยังคงไม่บูดเน่า หลังจากนานกว่าร้อยปี การค้นคว้านี้ทำให้เกิดอาหารกระป๋องที่เรา รู้จักกันทุกวันนี้ ต่อมาปาสเตอร์ได้ทำการทดลองเพื่อหาวิธีรักษา โรคกลัวน้ำ หลังจากทำการทดลองที่เสี่ยงอันตรายหลายครั้งเขาก็ ประสบผลสำเร็จซึ่งการค้นพบวิธีรักษาโรคกลัวน้ำใหความหวังแก่ ผู้คนในหลายประเทศ หลุยส์ ปาสเตอร์ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1895 มีผู้คนมากมายโศกเศร้าต่อการเสียชีวิตของเขา เขาไม่เพียงแต่เป็น นักวิทยาศาสตร์เท่านั้นแต่ยังเป็นบุคคลสำคัญอีกด้วย
ผลงาน
-ค้นพบวิธีรักษาสิ่งของไม่ให้เน่าเสียโดยวิธีพาสเจอร์ไรซ์ -ค้นพบวัคซีนในการรักษาโรคพิษสุนัขบ้า

กิจกรรมที่ 2

ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการศึกษา

1. มีหลักการและทฤษฎีคือ
ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองตามลำดับขั้น
ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์ (Douglas MC Gregor Theory X, Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน
ทฤษฎี X (The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
     1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
     2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
     3. คนเห็นแก่ตนเองมากว่าองค์การ
     4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
     5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
     ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
ทฤษฎี Y (The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
     1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
     2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
     3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
     4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
     ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน     
2.หลักการนำไปใช้แนวปฏิบัติ
     1. เน้นการเรียนการสอนตามสภาพจริง
     2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาความรู้ ได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระสารมารถสรุปและสร้างความรู้ใหม่ๆได้จากข้อมูลได้
     3. นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติ ครูคือผู้อำนวยความสะดวก
     4. เน้นการปฏิบัติควบคู่กับหลักการและทฤษฎีมีกรอบแนวคิด หลักการ สู่การปฏิบัติ
     5. เน้นวิธีสอน การเรียนรู้ ให้หลากหลาย
     6. กระบวนการเรียนรู้สำคัญกว่าเนื้อหา
     7. ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดมากกว่าการหาคำตอบที่ตายตัวเพียงคำตอบเดียว
     8. ใช้กระบวนการกลุ่ม ในการเรียนรู้ ร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ดังนั้น ผู้เรียนสำคัญที่สุด จัดการเรียนรู้ให้หลากหลายวิธี ตามศักยภาพของผู้เรียน ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงมีการพัฒนาสติปัญญา อารมณ์ สังคม จิตใจ คุณธรรม จริยธรรม อยู่ในโลกของความเป็นจริง เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขในสังคม

                                                                                                 เอกสารอ้างอิง

กิติมา ปรีดีดิลก. ทฤษฎีบริหารองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ธนะการพิมพ์, 2529.
ธีรวุฒิ ประทุมนพรัตน์. ทฤษฎีการบริหารและการจัดองค์การ. สงขลา : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2531.
วิจิตร ศรีสอ้าน และคณะ. หลักและระบบบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2523.

กิจกรรมที่ 1

การจัดการชั้นเรียน  คือ  การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน  การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน  การสร้างวินัยในชั้นเรียน  ตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู  และการพัฒนาทักษะการสอนของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน  เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
การบริหารการศึกษา   หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่